การเลือกเครื่องมือวัด

การเลือกตามหน่วยสเกล

หยาบ เรียบ 1 มม.: ไม้บรรทัด ตลับเมตร 0.1 มม.: เวอร์เนียคาลิปเปอร์ เกจวัดความสูง 0.01 มม.: ไมโครมิเตอร์ 0.001 ถึง 0.0001 มม.: ไมโครมิเตอร์ เครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพ

หน่วย 1 มม.

ไม้บรรทัดเป็นเครื่องมือวัดที่ได้รับความนิยมสูงสุดซึ่งสามารถใช้วัดได้ที่สเกล 1 มม. โดยทั่วไปจะใช้ไม้บรรทัดเหล็กและแก้วกันในโรงงานผลิต นอกจากนี้ยังนิยมใช้ตลับเมตร ซึ่งเป็นเครื่องมือที่วิศวกรของโรงงานจะพกติดตัวอยู่เสมอ
เกจบล็อคจะพบได้ในโรงงานผลิตโลหะและโรงงานผลิตอื่นๆ เกจบล็อคเป็นของแข็งสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ทำขึ้นจากเหล็ก ซึ่งได้รับประกันขนาดและความขนานในระดับ 0.1 μm เกจบล็อคมีความสำคัญมากในการวัดขนาดผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป หนึ่งในข้อดีของเกจบล็อคก็คือ สามารถประกอบกันเพื่อสร้างความยาวที่หลากหลายได้

หน่วย 0.1 มม.

เวอร์เนียคาลิปเปอร์เป็นเครื่องมือวัดที่โดยทั่วไปแล้วจะใช้วัดในหน่วย 0.1 มม. สเกลที่เล็กที่สุดคือ 0.02 มม. หรือ 0.05 มม. สามารถใช้เกจวัดความสูงเพื่อวัดความสูงที่ขนาดนี้ได้เช่นกัน

ยูนิต 0.01 มม.

ไมโครมิเตอร์มักถูกนำมาใช้ในการวัดที่เป็นหน่วย 0.01 มม. อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาให้วัดด้วยความแม่นยำสูง โดยยึดตามหลักการของ Abbe ไดอัลเกจก็ถูกนำมาใช้งานบ่อยครั้งเช่นกัน โปรไฟล์โปรเจคเตอร์จะสามารถนำไปใช้ในการวัดหลายจุดได้อย่างแม่นยำ

หน่วย 0.001 มม.

ใช้ไมโครมิเตอร์ในการวัดหน่วยไมโครเมตร โดยชนิดที่ใช้มากที่สุดในปัจจุบันนี้จะแสดงการวัดแบบดิจิตอล ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าสู่ไมโครมิเตอร์ระหว่างการวัด
การใช้เครื่องมือวัดดิจิตอลจะช่วยให้ผู้ใช้ทำการวัดในหน่วยไมโครเมตรได้แม้ไม่มีประสบการณ์

หน่วย 0.0001 มม.

เครื่องมือวัดชนิดกลไกอาจวัดได้ถึงระดับหน่วย 1 μm แต่อุปกรณ์ดังกล่าวไม่สามารถวัดหน่วยที่เล็กกว่าไมโครเมตรได้ เครื่องมือวัดความยาวเลเซอร์ ไมโครมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ และไมโครเซนเซอร์ สามารถใช้ในการประยุกต์ใช้งานดังกล่าวได้ เครื่องมือวัดที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เช่น เครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพ ก็สามารถทำการวัดที่มีความแม่นยำสูงได้อย่างสะดวกเช่นกัน
สภาพแวดล้อมในการวัดเป็นปัจจัยสำคัญในการวัดอย่างถูกต้องด้วยเครื่องมือดังกล่าว ตัวอย่างเช่น แล็บการวัด ชั่งและตวงจะต้องรักษาอุณหภูมิคงที่ไว้ที่ 20°C

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือวัดขนาดด้วยการประมวลผลภาพที่ให้อัตราการทำซ้ำไม่เกิน 1 ไมครอน

ดัชนี