ข้อมูลที่ Handheld Mobile Computer อ่านได้

Handheld Mobile Computer คือเทอร์มินัลมือถือชนิดพิเศษที่สามารถอ่านข้อมูลได้ด้วยโมดูลการสแกนด้วยเลเซอร์ในตัว หรือกล้องชนิดพิเศษเพื่อตรวจจับความแตกต่างขอบความหนาของบาร์ (เส้น) และที่ว่างของบาร์โค้ด ในส่วนนี้จะอธิบายถึงข้อมูล เช่น ชนิดของบาร์โค้ดที่ Handheld Mobile Computer จัดการได้ และความแตกต่างระหว่างบาร์โค้ดเหล่านี้

บาร์โค้ดและโค้ด 2D

บาร์โค้ดเป็นโค้ดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งจะติดอยู่กับผลิตภัณฑ์ในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ โดยจะประกอบด้วยเส้นหนา เส้นบาง และพื้นที่ว่างเรียงกันเป็นแถบ

โค้ด 2D ที่พบได้บ่อยคือ QR Code ซึ่งจะประกอบด้วยจุดเล็กๆ และพื้นที่ว่างที่เรียงกันอยู่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกะทัดรัด โดยได้มีการใช้งานแพร่หลายอย่างรวดเร็วเนื่องจากสามารถใช้กล้องหรือโทรศัพท์มือถืออ่านโค้ดได้ นอกจาก QR Code แล้วก็ยังมีโค้ดชนิด Stack ซึ่งจะมีการซ้อนหลายบาร์โค้ดเข้าด้วยกัน ถือได้ว่าเป็นโค้ด 2D ที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจาก QR Code นั้นสร้างขึ้นจากการจัดเรียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็กทั้งแนวตั้งและแนวนอน จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าโค้ด Matrix

ชนิดของโค้ดที่อ่านได้

มาตรฐานบาร์โค้ดทั่วโลกมีมากกว่า 100 มาตรฐาน ในส่วนนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปและอธิบายคุณสมบัติของมาตรฐานเหล่านั้น

EAN/JAN/UPC

JAN (EAN/UPC)
คุณสมบัติ
EAN เป็นโค้ดผลิตภัณฑ์ทั่วไปแบบนานาชาติที่ใช้งานร่วมกันได้กับ JIS ของญี่ปุ่น และ UPC ของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
จำนวนหลักที่แสดงได้
13 หลัก หรือ 8 หลัก
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลาย รวมถึงการใช้งานที่จำเป็นในแต่ละวัน หนังสือ นิตยสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภค และเสื้อผ้า

ITF

ITF
คุณสมบัติ
เป็นโค้ดโลจิสติกส์มาตรฐานที่พิมพ์อยู่บนลังกระดาษ แถบบาร์โค้ดห้าแถบจะแสดงแทนตัวอักษรหนึ่งตัว ซึ่งมีข้อดีคือสามารถแสดงจำนวนหลักเท่าเดิมในพื้นที่น้อยกว่าที่ต้องใช้ในโค้ดชนิดอื่น
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
จำนวนหลักที่แสดงได้
หลักที่เป็นเลขคู่เท่านั้น
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
ผลิตภัณฑ์โลจิสติกส์

CODE39

CODE39
คุณสมบัติ
ในมาตรฐานบาร์โค้ดนี้ แถบบาร์โค้ดห้าแถบและที่ว่างสี่ช่องจะแสดงแทนหนึ่งตัวอักษร จึงต้องใช้บาร์โค้ดที่กว้างกว่าในการแสดงจำนวนหลักที่เท่ากันเมื่อเทียบกับ ITF และ NW-7 (ซึ่งจะอธิบายต่อไป) แต่จะทำให้ความแม่นยำของการอ่านที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น ข้อดีอีกประการหนึ่งคือสามารถกำหนดจำนวนของหลักที่แสดงได้ตามต้องการ
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
  • ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
  • ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่
  • สัญลักษณ์ (-, ., ช่องว่าง, $, /, + และ %)
  • เครื่องหมายดอกจัน (*, ซึ่งใช้เป็นตัวอักษรเริ่มต้น/ปิดท้าย)
จำนวนหลักที่แสดงได้
กำหนดเอง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
การใช้งานในโรงงาน (เช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์)

CODE128

CODE128
คุณสมบัติ
สามารถแสดงโค้ด ASCII 128 ตัวอักษรได้ แถบบาร์โค้ดจะมีสามชนิด และแถบบาร์โค้ดสามแถบและช่องว่างสามช่องจะแสดงแทนหนึ่งตัวอักษร ซึ่งไม่เพียงแต่จะสามารถใช้งานตัวอักษรได้หลายชนิดเท่านั้น แต่ยังแสดงได้ในพื้นที่ที่เล็กกว่าโค้ดชนิดอื่นอย่างมากเนื่องจากจะแสดงเพียงตัวเลข (อย่างไรก็ตาม จะใช้พื้นที่น้อยกว่าเมื่อแสดง 12 หลักหรือมากกว่า)
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
  • โค้ด ASCII ทั้งหมด
  • ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
  • ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
  • สัญลักษณ์
  • ตัวอักษรควบคุม (เช่น CR และ STX)
จำนวนหลักที่แสดงได้
กำหนดเอง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
  • ร้านค้าแบบมีสาขาและห้างสรรพสินค้าต่างๆ
  • อุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบทางการแพทย์
  • อุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อ
  • อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

NW-7 (Codabar)

NW-7 (Codabar)
คุณสมบัติ
แถบบาร์โค้ดจะมีสองขนาด และแถบบาร์โค้ดสี่แถบและช่องว่างสามช่องจะแสดงแทนหนึ่งตัวอักษร บาร์โค้ดชนิดนี้จะเรียกว่า NW-7 หรือ Codabar ตัวอักษร a ถึง d จะใช้เป็นตัวอักษรเริ่มต้นที่ระบุจุดเริ่มต้นการอ่านโค้ด และตัวอักษรปิดท้ายที่ระบุจุดหยุดอ่านโค้ด โครงสร้างที่เรียบง่ายและแสดงเฉพาะตัวเลขและสัญลักษณ์บางอย่าง
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
  • ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
  • สัญลักษณ์ (-, $, /, . และ +)
  • ตัวอักษรตั้งแต่ a ถึง d (ตัวอักษรเริ่มต้น/ปิดท้าย)
จำนวนหลักที่แสดงได้
กำหนดเอง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
  • ใบบันทึกการส่งของตามบ้าน
  • การพัฒนา การพิมพ์ และการขยาย (ร้านพิมพ์)
  • การบริหารระบบการยืมที่ห้องสมุด

QR

QR
คุณสมบัติ
QR เป็นตัวย่อของคำว่า Quick Response ซึ่งหมายความว่าโค้ดเหล่านี้สามารถอ่านได้ด้วยความเร็วสูง นอกจากนี้ เนื่องจากมีการจัดเรียงจุดต่างๆ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน จึงสามารถจัดเก็บข้อมูลได้มาก จึงทำให้ QR Code มีคุณสมบัติที่สามารถใช้งานได้ทั้งตัวเลขและข้อความได้หลายภาษา เนื่องจาก QR Code นั้นสร้างขึ้นจากการจัดเรียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็กทั้งแนวตั้งและแนวนอน จึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าโค้ด Matrix
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
  • ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
  • ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
  • สัญลักษณ์
  • หลายภาษารวมถึงคันจิของภาษาญี่ปุ่น
จำนวนหลักที่แสดงได้
กำหนดเอง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
  • การจัดการสินค้าคงคลัง (เช่น ในคลังสินค้า)
  • สถานที่ทำงานทางการแพทย์
  • ล็อคเกอร์ฝากของ (ที่สนามบิน)
  • แคมเปญของบริษัท

DataMatrix

DataMatrix
คุณสมบัติ
DataMatrix คือโค้ด Matrix 2D ที่พัฒนาโดย ID Matrix ในปี 1987 ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมาตรฐาน AIMI ISS ในปี 1996 และเปลี่ยนชื่อเป็นมาตรฐาน ISO/IEC ในปี 2000 เวอร์ชันเก่าของโค้ด DataMatrix ได้แก่ ECC000, ECC050, ECC080, ECC100 และ ECC140 เวอร์ชันล่าสุดของโค้ด DataMatrix คือ ECC200 ซึ่งเวอร์ชันเก่าจะไม่ทนทานต่อความบิดเบี้ยว และในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้เวอร์ชัน ECC200 เนื่องจากมีการปรับปรุงฟังก์ชันการแก้ไขข้อผิดพลาดสำหรับการจัดการความบิดเบี้ยว โดยโค้ด DataMatrix จะมีสองชนิด ได้แก่ การกำหนดค่าแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส และการกำหนดค่าแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดสัญลักษณ์ 24 ขนาด (6 ขนาดสำหรับองค์ประกอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า) ตั้งแต่ 10 × 10 โมดูลจนถึง 144 × 144 โมดูล เมื่อขนาดของสัญลักษณ์คือ 26 × 26 โมดูลหรือใหญ่กว่า (มีโมดูลข้อมูลขนาด 24 × 24 หรือใหญ่กว่า) สัญลักษณ์จะแบ่งออกเป็นบล็อคๆ เพื่อให้เซลล์ข้อมูลแต่ละเซลล์มีขนาดเล็กกว่า 24 × 24 โมดูล ซึ่งจะช่วยให้ทนทานต่อความบิดเบี้ยวได้
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
  • ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
  • ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
  • สัญลักษณ์
  • หลายภาษารวมถึงคันจิของภาษาญี่ปุ่น
จำนวนหลักที่แสดงได้
กำหนดเอง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
  • ยาและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
  • เครื่องมือผ่าตัด เช่น มีดผ่าตัดและกรรไกร
  • การมาร์กบนเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนที่คล้ายกัน
  • การจัดการประวัติ (การตรวจสอบย้อนกลับ) ของชิ้นส่วนขนาดเล็ก

PDF417

PDF417
  1. A: รูปแบบเริ่มต้น
  2. B: ตัวบ่งชี้แถวซ้าย
  3. C: Dataword (1 ถึง 30)
  4. D: ตัวบ่งชี้แถวขวา
  5. E: รูปแบบปิดท้าย
คุณสมบัติ
PDF417 เป็นโค้ด 2D แบบหลายแถว (Stack) ที่พัฒนาขึ้นในปี 1989 โดย Symbol Technologies ซึ่งได้รับการจดทะเบียนเป็นมาตรฐาน AIMI USS ในปี 1994 และเปลี่ยนชื่อเป็นมาตรฐาน ISO/IEC ในปี 2000 นอกจากนี้ยังได้นำมาใช้เป็นมาตรฐาน JIS X0508:2010 ในเดือนมีนาคม 2010 ขนาดข้อมูลสูงสุดคือตัวเลขและตัวอักษร 1,850 ตัว ตัวเลข 2,725 ตัว และไบนารี 1,108 ไบต์ ซึ่งช่วยให้เข้ารหัสที่มีคันจิของภาษาญี่ปุ่น ตัวเลข รูปภาพ และเสียงได้ สัญลักษณ์ต่างๆ จะประกอบด้วยชุดของระดับชั้นที่ต่อเนื่อง (ซ้อนกัน) ตั้งแต่ 3 ถึง 90 ระดับ สัญลักษณ์จะประกอบด้วยรูปแบบเริ่มต้นและรูปแบบปิดท้าย ตัวบ่งชี้ระดับซ้ายและขวา และตัวอักษรสัญลักษณ์ที่ 1 ถึง 30 นอกจากนี้ยังมีโค้ดแบบอื่นๆ อีกด้วย ตัวอย่างเช่น Compact PDF417 (PDF417 ที่ถูกตัดทอน/โหมดการตัดทอน) ซึ่งจะมีตัวบ่งชี้แถวขวาและขนาดรูปแบบหยุดที่ลดลง และ MicroPDF417 ซึ่งมีพื้นฐานจาก PDF417 แต่มีโค้ดเริ่มต้นและโค้ดหยุดที่เรียบง่ายขึ้น และมีความสูงของแต่ละโมดูลเป็นสองเท่าเพื่อเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลและประหยัดพื้นที่ว่าง
ชนิดของตัวอักษรที่ใช้ได้
  • ตัวเลขจาก 0 ถึง 9
  • ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
  • สัญลักษณ์
  • หลายภาษารวมถึงคันจิของภาษาญี่ปุ่น
จำนวนหลักที่แสดงได้
กำหนดเอง
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
  • ข้อมูลจำเพาะในการจัดส่ง
  • การจัดการคุณภาพและคำสั่งในการผลิต
  • บัตรประจำตัว เช่น ใบอนุญาต
  • ตราไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ใช้ฟังก์ชัน OCR (การอ่านตัวอักษรด้วยแสง) ได้

Handheld Mobile Computer บางรุ่นจะมีฟังก์ชัน OCR (การอ่านตัวอักษรด้วยแสง) ติดตั้งอยู่ การป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบด้วย OCR จะรวดเร็วกว่าการป้อนด้วยปุ่มกดหรือป้อนด้วยเสียง ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น สตริงตัวอักษร เช่น วันที่ผลิต และวันหมดอายุจะสามารถแปลงเป็นข้อมูลได้ทันทีโดยสแกนด้วย Handheld Mobile Computer จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบและป้อนข้อมูลด้วยตนเองเพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ อีกทั้งยังช่วยในการสร้างบาร์โค้ดหรือโค้ด 2D จากสตริงตัวอักษรได้เช่นกัน

ใช้ฟังก์ชัน OCR (การอ่านตัวอักษรด้วยแสง) ได้

ชนิดของตัวอักษรที่อ่านได้

ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (26)
ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (26)
ตัวอักษรพิมพ์เล็ก (26)
ตัวอักษรพิมพ์เล็ก (26)
ตัวเลข (10)
ตัวเลข (10)
เครื่องหมาย (10)
เครื่องหมาย (10)

อ่านข้อความทุกชนิดได้อย่างรวดเร็ว

เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition - การอ่านตัวอักษรด้วยแสง) สามารถอ่านตัวอักษรได้หลายชนิดไม่ว่าจะเป็นฟอนต์แบบใด จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ทันที ถึงแม้ว่าจะไม่มีการใช้บาร์โค้ดก็ตาม

ใบบันทึกของผลิตภัณฑ์
ใบบันทึกของผลิตภัณฑ์
วันหมดอายุของยา/หมายเลขผลิตภัณฑ์
วันหมดอายุของยา/หมายเลขผลิตภัณฑ์
วันที่ควรบริโภคก่อนสำหรับอาหาร (ลังกระดาษ)
วันที่ควรบริโภคก่อนสำหรับอาหาร (ลังกระดาษ)
แผงวงจร
แผงวงจร
คำสั่งในการทำงาน
คำสั่งในการทำงาน
เครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องชั่งน้ำหนัก

ดัชนี