ตัวอย่าง: MK-G ซีรีส์

ในส่วนนี้จะใช้ MK-G ซีรีส์ จาก KEYENCE เป็นตัวอย่างในการอธิบายโครงสร้างและคุณสมบัติของเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท

คอนโทรลเลอร์

คอนโทรลเลอร์

ถังปรับสภาพเทคโนโลยีต้นแบบจาก KEYENCE

ตัวทำละลายที่ใช้ระหว่างการทำความสะอาดโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง ปิดเครื่องและ บำรุงรักษาจะถูกเก็บไว้ใน
ถังปรับสภาพ
ถังปรับสภาพนี้จะใช้เพื่อป้องกันไม่ให้หมึกในถังหลักเจือจางและควบคุมความหนืดของหมึก เนื่องจากหมึกเป็นของเหลว
ที่นำไฟฟ้า จึงได้นำเกจวัดระดับที่ใช้อิเล็กโทรดมาใช้เป็นตัวจัดการประจุในถังปรับสภาพ

* โดยทั่วไปแล้วเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทจะไม่มีถังปรับสภาพ จึงต้องเก็บตัวทำละลายไว้ในถังหลักซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้หมึกเจือจาง

ถังปรับสภาพ

ตลับหมึก

เครื่องพิมพ์จะป้อนหมึกเข้าไปในระบบได้สองวิธี ได้แก่ เติมหมึกเข้าถังหมึกจากขวดหรือ ใส่ตลับหมึก

ข้อดีของการใช้ตลับที่มีชิป IC

ป้องกันการใส่อุปกรณ์ไม่ถูกต้อง
หากชนิดของหมึกหรือตัวทำละลายไม่ถูกต้อง ระบบจะแจ้งเตือนข้อผิดพลาดให้ผู้ใช้ทราบ
สามารถตรวจสอบ ปริมาณคงเหลือได้
ปริมาณคงเหลือของของเหลวจะแสดงเป็น เปอร์เซ็นต์
มีเซนเซอร์ตรวจจับความว่างเปล่า
ใช้ของเหลวในตลับได้อย่างหมดจด
ตลับหมึก

เครื่องวัดความหนืด

เครื่องวัดความหนืดจะตรวจจับความหนืดภายในถังหลักตลอดเวลาเพื่อรักษาความหนืด ที่เหมาะสมไว้ หมึกจากถังหลักจะไหลเข้าสู่เครื่องวัดความหนืดซึ่งข้อมูลจะถูกส่งกลับ เพื่อแก้ไขระดับความหนืด นอกจากนี้ยังวัดอุณหภูมิของหมึกภายในเครื่องวัดความหนืด เพื่อปรับความหนืดให้เข้ากับอุณหภูมิ ที่ระบุด้วย

เครื่องวัดความหนืด

วาล์วลดแรงดัน

แรงดันที่ด้านหลักไม่คงที่เนื่องจากใช้ปั๊ม จึงต้องใช้วาล์วลดแรงดันเพื่อคอยรักษาแรงดันที่ด้านรองให้คงที่
วาล์วลดแรงดัน คือ วาล์วควบคุมแรงดันที่ทำงานเองโดยมีแรงดันจากของเหลวเป็นตัวกระตุ้นการทำงาน หากแรงดันที่
ด้านรองต่ำ ตัวนำร่องก็จะอยู่ต่ำ ทำให้หมึกไหลไปยังด้านรองมากขึ้นและทำให้แรงดันเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน
หากแรงดันสูง ตัวนำร่องก็จะอยู่สูง หมึกจึงไม่ไหลไปยังด้านรองและทำให้ระดับแรงดันคงที่

วาล์วลดแรงดัน

หัวพิมพ์

หัวพิมพ์

แคนนอน (ส่วนประกอบ Piezo และหัวฉีด)

ภายในแคนนอน ชิ้นส่วนทรงกระบอกที่รูปทรงคล้ายกรวยจะสั่นในแนวขึ้นลง เพื่อสร้างละอองหมึกจากแถวหมึก
ต้นทางการสั่น คือ ส่วนประกอบ Piezo ลักษณะเฉพาะขององค์ประกอบนี้ทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งปริมาณ
การสั่นจะเปลี่ยนไปเมื่อได้รับแรงดันไฟฟ้า
องค์ประกอบนี้จะเชื่อมต่อกับกรวยและจะสร้างละอองหมึกประมาณ 70,000 อนุภาคต่อวินาที แคนนอนจะมีเส้นทาง
ป้อนหมึกหนึ่งทางและอีกเส้นทางสำหรับเก็บหมึก ในระหว่างการดำเนินการวาล์วโซลินอยด์จะปิดเส้นทางเก็บหมึก
และแคนนอนจะฉีดหมึกออกมาจากหัวฉีด

แคนนอน (ส่วนประกอบ Piezo และหัวฉีด)

แผ่นอิเล็กโทรดไฟฟ้าสถิต

หัวฉีดจะฉีดหมึกออกมาเป็นแถวผ่านแผ่นอิเล็กโทรดไฟฟ้าสถิต ซึ่งทำให้หมึกแตกออกเป็นละอองหมึกที่เหมาะสมที่สุด
แรงดันไฟฟ้าพัลส์จะส่งแถวหมึกไปยังแผ่นอิเล็กโทรดไฟฟ้าสถิต ปริมาณความอิ่มตัวของประจุไฟฟ้าขั้วลบในแถวหมึก
จะแตกต่างกันไปตามขนาดของพัลส์ ทันทีที่ละอองหมึกก่อตัวขึ้นปริมาณของประจุไฟฟ้าที่แต่ละละอองหมึกได้รับก็จะ
แตกต่างกัน เพื่อให้แต่ละอนุภาคมีแรงดันไฟฟ้าขั้วลบที่สัมพันธ์กับข้อมูลตำแหน่งที่จะพิมพ์

แผ่นอิเล็กโทรดไฟฟ้าสถิต

การฉีดตัวทำละลาย อัตโนมัติเทคโนโลยีต้นแบบจาก KEYENCE

หากภายในหัวพิมพ์สกปรกจะทำให้พิมพ์ได้ไม่ถูกต้อง MK-G ซีรีส์ จาก KEYENCE มีฟังก์ชันการทำความสะอาดและ
เป่าแห้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะฉีดตัวทำละลายด้วยแรงดันสูงใส่หัวฉีด แผ่นอิเล็กโทรดไฟฟ้าสถิต และแผ่นอิเล็กโทรดหักเห
หลังจากทำความสะอาดแล้วภายในของหัวพิมพ์จะถูกเป่าแห้ง

การฉีดตัวทำละลาย
อัตโนมัติ

แผ่นอิเล็กโทรดหักเห

แผ่นอิเล็กโทรดหักเหได้รับแรงดันไฟฟ้าสูงทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อละอองหมึกที่ได้รับประจุไฟฟ้าขั้วลบไหลผ่าน
แผ่นอิเล็กโทรดหักเห ละอองหมึกจะเปลี่ยนทิศทางตามประจุที่ได้รับ

* สนามแม่เหล็กจะเกิดรอบๆ วัตถุที่ได้รับแรงดันไฟฟ้าเสมอ

แผ่นอิเล็กโทรดหักเห

เซนเซอร์ประจุ

การตรวจสอบสถานะของอนุภาค

ความหนืดของหมึกจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เมื่อความหนืดของหมึกเปลี่ยน เวลาที่ใช้สร้างละอองหมึกและปริมาณประจุ
ที่ส่งก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดความบกพร่องขึ้น เช่น ข้อความที่ไม่เสถียร ในกรณีนี้จำเป็นจะต้องปรับแรงดัน
Piezo โดยเมื่ออนุภาคหมึกที่มีประจุไฟฟ้าไหลผ่านเซนเซอร์ก็จะตรวจจับเพื่อปรับประจุไฟฟ้าที่ใช้ให้เหมาะสม

การปรับละอองหมึกให้เหมาะสม ที่สุดโดยอัตโนมัติเทคโนโลยีต้นแบบจาก KEYENCE
MK-G ซีรีส์ จาก KEYENCE จะรับรู้ถึงตำแหน่งที่หมึกแตกตัวออกเป็นอนุภาคแล้วปรับแรงดัน Piezo
ระบบจะวัดเมื่ออนุภาคหมึกไหลผ่านเซนเซอร์ประจุ เพื่อกำหนดแรงดันไฟฟ้า โดยทั่วไปแล้วจะต้อง
ปรับแรงดัน Piezo ด้วยตนเอง
การตรวจสอบสถานะของอนุภาค
ดาวน์โหลด PDF

กลับไปยังหน้าหลักของ CIJ Central