แบบร่างและสัญลักษณ์ของ GD&T
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิตจะระบุไว้ด้วยสัญลักษณ์บนแบบร่าง ในปัจจุบัน เรามีสัญลักษณ์สำหรับเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิตทั้งหมด 16 แบบ ซึ่งได้มีการจัดประเภทตามเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่สัญลักษณ์ระบุ
- การจำแนกประเภทและสัญลักษณ์สำหรับคุณลักษณะของเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิต
- ทฤษฎีตำแหน่งที่แท้จริง (ค่าขนาดในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
การจำแนกประเภทและสัญลักษณ์สำหรับคุณลักษณะของเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิต
รายการต่อไปนี้คือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้สำหรับเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิต “Feature เดี่ยว” ในแถว “ระดับ Feature” หมายถึง Feature ที่เป็นอิสระจาก Datum (เช่น Feature ที่ไม่ต้องใช้ Datum อ้างอิง) Datum คือ Feature ในทางทฤษฎีที่กำหนดขึ้นเพื่อระบุทิศทาง ตำแหน่ง และ/หรือการหนีจากจุดอ้างอิง Feature ที่เกี่ยวข้องคือ Feature ที่สัมพันธ์กับ Datum และระบุถึงเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของทิศทางการวาง เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง และ/หรือเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของการหนีจากจุดอ้างอิง
Feature เดี่ยว | |
---|---|
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ของรูปร่าง (การเบี่ยงเบนของรูปร่าง) |
|
ความตรง | |
ความเรียบ | |
ความกลม | |
ความเป็นทรงกระบอก | |
ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น | |
ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของระนาบ |
Feature ที่เกี่ยวข้อง (ต้องใช้ Feature ของ Datum) | |
---|---|
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ของรูปร่าง (การเบี่ยงเบนของรูปร่าง) |
|
ความขนาน | |
ความตั้งฉาก | |
ความเป็นมุม | |
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง (การเบี่ยงเบนของตำแหน่ง) | |
ตำแหน่ง | |
ความร่วมแกน | |
ความร่วมศูนย์ | |
ความสมมาตร | |
ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น | |
ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของระนาบ | |
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของการหนีจากจุดอ้างอิง (การเบี่ยงเบนจากการหมุน) | |
การหนีศูนย์กลางของวงกลม | |
การหนีแนวระนาบ |
รายการสัญลักษณ์เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิต (มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง: ISO 5459)
ทฤษฎีตำแหน่งที่แท้จริง (ค่าขนาดในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
ทฤษฎีตำแหน่งที่แท้จริงคือแนวคิดของการระบุคุณลักษณะทางเรขาคณิต (ตำแหน่ง โปรไฟล์ และความเป็นมุม) โดยใช้มิติแท้จริงตามทฤษฎี (Theoretically Exact Dimensions : TED) มิติแท้จริงตามทฤษฎีจะแสดงไว้ในกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในขณะที่เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งจะแสดงไว้ในกรอบควบคุม Feature
การระบุตำแหน่ง
ตามที่แสดงในแบบร่างด้านล่าง การระบุตามเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดจะไม่สามารถระบุตำแหน่งที่ถูกต้องได้ เนื่องจากทั้งมิติอ้างอิงและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนได้กลายเป็นผลรวมของเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดแล้ว (เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสะสม) ในทางกลับกัน การระบุตาม TED จะไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน ซึ่งหมายความว่าจะไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนสะสม
การระบุขอบเขตความคลาดเคลื่อน
ในการระบุขอบเขตความคลาดเคลื่อนในทฤษฎีตำแหน่งที่แท้จริงนั้น คุณจะต้องใช้ TED เพื่อระบุข้อมูลจำเพาะที่ถูกต้องที่กึ่งกลางของค่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
หาก Feature เป็นจุด ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจะเป็นวงกลม (a) หรือทรงกลม โดยมีศูนย์กลางอยู่รอบๆ จุดนั้น หาก Feature เป็นเส้นตรง ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจะอยู่ระหว่าง 2 ระนาบที่ขนานกัน (b) โดยแต่ละระนาบจะถูกแยกออกจากเส้นนั้นอย่างแม่นยำด้วยการแบ่งครึ่งค่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน หรืออาจใช้ขอบเขตความคลาดเคลื่อนทรงกระบอก (c) เป็นขอบเขตความคลาดเคลื่อนโดยให้เส้นตรงเป็นแกนกลางก็ได้