เครื่องจักรที่ใช้วัด

เครื่องมือวัดความกลม

เครื่องมือวัดความกลม

เครื่องมือนี้สามารถวัดความตรง ความกลม ความเป็นทรงกระบอก ความขนาน ความตั้งฉาก ความร่วมแกน การหนีศูนย์กลางของวงกลม และการหนีแนวระนาบ โดยทั่วไป เครื่องมือวัดความกลมจะมีแท่นหมุนติดตั้งมาให้และวัดคุณลักษณะทางเรขาคณิตแบบต่างๆ โดยใช้สไตลัสสัมผัสกับชิ้นงาน

เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)

เครื่องมือวัดพิกัด (CMM) จะสามารถวัดคุณลักษณะทางเรขาคณิตแบบต่างๆ ของเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปร่าง เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของทิศทางการวาง และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง ได้

เครื่องมือวัดพิกัด
a
คานเลื่อน
b
แท่นวาง
c
ทริกเกอร์โพรบ
d
คอนโทรลเลอร์

เครื่องมือวัดพิกัดชนิดสัมผัสจะตรวจจับพิกัดสามมิติ (X-Y-Z) เมื่อผู้ปฏิบัติงานใช้สไตลัสทรงกลมซึ่งติดตั้งไว้ที่ส่วนปลายของโพรบระบุจุดหรือเส้นที่จะวัดชิ้นงาน เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ (เส้นตรง ระนาบ วงกลม ทรงกลม ฯลฯ) จะคำนวณมาจากชุดของพิกัดที่ตรวจจับได้ เครื่องมือวัดพิกัดจึงสามารถวัดมุม ความสัมพันธ์เชิงตำแหน่งขององค์ประกอบ โปรไฟล์ และการเบี่ยงเบนทางเรขาคณิตได้อย่างแม่นยำ รวมความยาวของวัตถุสามมิติที่ซับซ้อน

เครื่องมือวัดพิกัด

ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ เครื่องที่มีโมเดลแบบติดตั้งอยู่กับที่จะได้รับความนิยมมากกว่า แต่ก็มีข้อกำหนดด้านการควบคุมอุณหภูมิ รวมถึงข้อจำกัดของพื้นที่การติดตั้งและขนาดของชิ้นงานที่วัดได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องวัด การใช้งานเครื่องเหล่านี้ยังมีความเข้มงวดและผู้ปฏิบัติงานก็ยังต้องมีความเชี่ยวชาญในระดับสูง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดพิกัดให้มีขนาดกะทัดรัดที่เคลื่อนย้ายได้พร้อมโพรบมือถือขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นการแก้ปัญหาของโมเดลแบบติดตั้งอยู่กับที่ได้หลายอย่าง

คอลัมน์
วิธีกำลังสองน้อยที่สุด

ถึงแม้ว่าจะใช้สไตลัสของเครื่องมือวัดพิกัดเพื่อระบุจุดที่จำเป็นในการวัดแล้ว แต่รูปร่างที่ได้มาจากการเลื่อนผ่านจุดทั้งหมดนั้นอาจยังเบี่ยงเบนไปจากรูปร่างที่แท้จริง ในกรณีเช่นนี้ จะใช่วิธีกำลังสองน้อยที่สุดหลังจากการวัด

ตัวอย่างเช่น การวัดวงกลม โดยวงกลมจะได้มาจากการคำนวณค่าเฉลี่ยที่จะลดผลรวมของกำลังสองของการเบี่ยงเบนในทิศทางตามรัศมีของแต่ละจุดการวัดให้เหลือน้อยที่สุด

จุดการวัด
จุดการวัด
รูปร่างที่สร้างจากวิธียกกำลังสองน้อยที่สุด (เส้นสีแดง)
รูปร่างที่สร้างจากวิธียกกำลังสองน้อยที่สุด
(เส้นสีแดง)

ดัชนี