การวัดความเป็นมุม
เมื่อมุมระหว่างเส้นหรือระนาบที่กำหนดไม่ใช่ 90° คุณจะต้องวัดความเป็นมุม ซึ่งจะกำหนดความแม่นยำของมุมให้กับDatum (ระนาบหรือเส้นอ้างอิง)
หน่วยของความเป็นมุมจะไม่ใช่องศา แต่เป็นมิลลิเมตร
แบบร่างตัวอย่าง

การใช้ไดอัลเกจ

- a
- ตัวยึด
- b
- ชิ้นงาน
- c
- สิ่งรองรับ
- d
- แผ่นพื้นผิวเรียบ
- e
- แผ่นทำมุม
- f
- ด้ามจับ
ใช้แผ่นทำมุมและสิ่งรองรับที่มีวางจำหน่ายเพื่อยึดชิ้นงานให้อยู่บนระนาบ Datum ในมุมที่ถูกต้อง
การใช้ด้ามจับหรือพินเกจจะทำให้วัดได้ง่ายขึ้น
หากมุมตรงตามที่ระบุไว้ในแบบร่าง ด้ามจับ (หรือพินเกจ) ที่วางไว้จะได้ระดับ ในสภาวะดังกล่าว ให้วัดความขนานของด้ามจับกับแผ่นพื้นผิวเรียบด้วยไดอัลเกจ
ความเป็นมุมคือผลต่างระหว่างค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดของการหนีจากจุดอ้างอิงของไดอัลเกจ
ข้อเสีย
การติดตั้งด้ามจับให้ขนานกับแผ่นพื้นผิวเรียบ รวมถึงการติดตั้งชิ้นงาน แผ่นทำมุม และเครื่องมืออื่นๆ ต้องใช้เวลานาน
เนื่องจากเมื่อวัดระนาบเพื่อหาความเป็นมุมจะมีจุดการวัดที่มากกว่า ค่าที่วัดได้จึงมีโอกาสที่จะผิดพลาด
ชิ้นงานที่ไม่สามารถยึดติดกับแผ่นทำมุมได้อย่างเหมาะสมจะทำให้วัดได้ยาก
การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)

- a
- ชิ้นงาน
- b
- แผ่นเครื่องมือวัดพิกัด
กำหนด Datum ด้วยการวางสไตลัสลงบนระนาบ Datum หลายจุด และวัดความเป็นมุมโดยวางสไตลัสลงบนระนาบการวัดของชิ้นงาน
สำหรับกรณีที่มีระบบ Datum เช่น Datum ระบบระนาบ 2D หรือ Datum ระบบระนาบ 3D ก็สามารถทำการวัดแบบเดียวกันได้
ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่ต้องใช้ในการติดตั้งชิ้นงาน และยังวัดได้แม่นยำถึงแม้จะไม่สามารถยึดชิ้นงานกับแผ่นได้ก็ตาม
- หน้าจอแสดงผลการวัด
-
- a
- ผลการวัดความเป็นมุม
- b
- ระนาบ Datum
- c
- ระนาบ Datum