การวัดความร่วมแกน
เมื่อวัดความร่วมแกน คุณจะต้องตรวจสอบความคลาดเคลื่อนทุกแบบในแกนกลาง (เช่น แกนของทรงกระบอก 2 ชิ้นมีแกนกลางร่วมกันหรือไม่)
แบบร่างตัวอย่าง
การใช้ไดอัลเกจ
ยึดชิ้นงานให้อยู่กับที่และวางไดอัลเกจบนจุดยอดของเส้นรอบวงเพื่อระบุเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน
หมุนชิ้นงานและวัดค่าการหนีจากจุดอ้างอิงที่สูงสุดและต่ำสุดโดยใช้ไดอัลเกจ
วัดซ้ำบนแกนที่กำหนด โดยผลต่างของค่าสูงสุดและต่ำสุดที่มากที่สุดจะเป็นความร่วมแกน
ข้อเสีย
ปัจจัยต่างๆ เช่น มุมและความแข็งแกร่งที่ใช้วางไดอัลเกจบนชิ้นงานจะส่งผลถึงค่าที่วัดได้ ซึ่งหมายความว่าการวัดอาจแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติงาน
เนื่องจากการวัดจะทำซ้ำบนแกนที่กำหนด จึงต้องตรวจสอบการวัดและผลการวัดทุกครั้ง
การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)
วางสไตลัสบนจุดการวัดบนองค์ประกอบ Datum (ทรงกระบอก) แล้ววางสไตลัสบนจุดการวัดขององค์ประกอบของชิ้นงาน (ทรงกระบอก) เพื่อวัดความร่วมแกน ผลการวัดจะถูกบันทึกลงในเครื่องมือวัด
การวัดที่ต้องใช้การวางสไตลัสบนพื้นผิวจะมี 2 โหมดได้แก่: การวัดจุด ซึ่งจะวัดด้วยการวางสไตลัสบนพื้นผิวทุกครั้งที่วัด และการวัดแบบทริกเกอร์อัตโนมัติ (การสแกน) ซึ่งจะวัดจุดอย่างต่อเนื่องด้วยการวางสไตลัสบนชิ้นงานแล้วเลื่อนไปบนพื้นผิว
ซึ่งจะช่วยให้สไตลัสเคลื่อนที่เป็นเกลียวสำหรับวัดทรงกระบอกที่สไตลัสสัมผัสได้ยากได้
- หน้าจอแสดงผลการวัด