การวัดความขนาน
คุณสมบัติของความขนานจะระบุว่าเส้นหรือระนาบทั้งสองขนานกันหรือไม่
ถึงแม้ว่าความขนานจะดูเหมือนกับความเรียบ แต่การวัดความตรงก็ต้องใช้ Datum (ระนาบหรือเส้นอ้างอิง) ดังนั้น ระนาบ Datum นั้นจึงต้องยึดติดกับแผ่นพื้นผิวเรียบเมื่อทำการวัด
แบบร่างตัวอย่าง
การใช้ไดอัลเกจ
- a
- ชิ้นงาน
- b
- แผ่นพื้นผิวเรียบ
- c
- Δh = ความขนาน
- d
- กราฟความสูง
ยึดชิ้นงานให้เข้าที่บนแผ่นพื้นผิวเรียบ เลื่อนชิ้นงานหรือเกจวัดความสูงตรงไปด้านหน้าเพื่อทำการวัด ผลต่างระหว่างค่าที่วัดได้สูงสุด (ความสูงที่สูงที่สุด) และค่าที่วัดได้ต่ำสุด (ความสูงที่ต่ำที่สุด) คือค่าความขนาน
ข้อเสีย
เนื่องจากต้องวัดเป็นเส้นตรง จึงต้องวัดหลายจุด หากชิ้นงานเป็นชิ้นส่วนยืดหยุ่น (เช่น เรซินอ่อนหรือผลิตภัณฑ์ยาง) น้ำหนักของสไตลัส (แรงกดในการวัด) อาจทำให้พื้นผิวที่วัดผิดรูปได้ ซึ่งอาจทำให้การวัดไม่แม่นยำ
นอกจากนี้ ชิ้นงานที่ไม่สามารถยึดระนาบอ้างอิงกับแผ่นพื้นผิวเรียบได้ก็ยังจะทำให้วัดได้ยาก
การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)
- a
- ชิ้นงาน
- b
- แผ่นพื้นผิวเรียบ
วางสไตลัสที่ 4 จุดของชิ้นงานเพื่อทำการวัด สไตลัสจะสัมผัสชิ้นงานเพียงเล็กน้อย ซึ่งจะช่วยให้วัดได้อย่างแม่นยำโดยไม่ทำให้ชิ้นงานยืดหยุ่นผิดรูปไป
นอกจากนี้ยังสามารถวางสไตลัสบนชิ้นงานได้ที่มุมและตำแหน่งที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้ทำการวัดและกำหนดองค์ประกอบอ้างอิงได้ง่าย ถึงแม้จะเป็นชิ้นงานที่ไม่สามารถยึดกับแผ่นพื้นผิวเรียบได้อย่างเหมาะสมก็ตาม
- หน้าจอแสดงผลการวัด
-
- a
- ผลการวัดความขนาน
- b
- องค์ประกอบของชิ้นงาน (ระนาบ)
- c
- องค์ประกอบอ้างอิง (ระนาบ)