ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น
การวัดความบิดเบี้ยวในความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น (องค์ประกอบเส้นที่ปรากฏบนส่วนตัดขวางของพื้นผิว) คือการตรวจสอบว่าชิ้นส่วนที่ออกแบบนั้นมีความโค้งตรงตามลักษณะที่ระบุไว้ในแบบร่างหรือไม่ เส้นของส่วนตัดขวางที่ลากผ่านพื้นผิวโค้งที่ระบุนั้น จะต้องอยู่ภายในขอบเขตความคลาดเคลื่อนของขนาด (ขอบเขตความคลาดเคลื่อน)
แบบร่างตัวอย่าง
การใช้โปรไฟล์โปรเจคเตอร์
- a
- จอภาพ
- b
- เลนส์ใกล้วัตถุ
- c
- ชิ้นงาน
- d
- แท่นกระจก XY
- e
- ไฟส่องสว่าง
เตรียมแผ่นวัดที่ร่างเส้น Envelope ไว้เพื่อระบุช่วงมาตรฐาน โดยให้เส้นกึ่งกลางเป็นรัศมีที่แม่นยำในอุดมคติ
ติดแผ่นวัดเข้ากับจอภาพ แล้วยิงแสงไปที่ชิ้นงานซึ่งวางอยู่บนแท่นกระจก XY เปรียบเทียบรัศมีส่วนโค้งของชิ้นงานที่ฉายอยู่บนจอภาพกับรัศมีส่วนโค้งที่เขียนอยู่บนแผ่นวัด เพื่อตรวจสอบว่าอยู่ภายในขอบเขตความคลาดเคลื่อนหรือไม่
ข้อเสีย
การจัดวางตำแหน่งชิ้นงานและการกำหนดจุดเริ่มต้นนั้นใช้เวลานาน อีกทั้ง การวัดด้วยมือก็ต้องใช้เวลานานเช่นกัน
ผลการวัดอาจได้รับผลกระทบจากการโฟกัส ทิศทาง และความเข้มแสงที่กระทบกับชิ้นงานก็อาจทำให้รูปร่างของขอบที่ปรากฏเปลี่ยนไปได้ ซึ่งจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการวัด
การใช้เครื่องมือวัดพิกัด (CMM)
- a
- ชิ้นงาน
- b
- แผ่นพื้นผิวเรียบ
สามารถกำหนดองค์ประกอบอ้างอิง (ระนาบ) และวัดความเบี่ยงเบนจากองค์ประกอบของชิ้นงาน (ระนาบ) ได้เพียงวางสไตลัสลงบนจุดที่จะวัด ซึ่งทำให้การวัดมีความรวดเร็ว เสถียร และมีความแม่นยำสูง